CHO THAVEE PLC.

Language Switcher

สัมภาษณ์พิเศษ คุณ นพรัตน์ แสงสว่าง ในรายการเพื่อนคู่คิด ตอนตู้คอนเทนเนอร์น้ำหนักเบา นวัตกรรมฝีมือคนไทย เบื้องหลังการคิดค้น และพัฒนาวัสดุที่ใช้เพื่อการขนส่งที่มีน้ำหนักเบากว่าตู้โครงเหล็กทั่วไปถึง 50% ส่งผลให้สามารถบรรทุกได้เพิ่มขึ้นอีก

ผู้นำเทคโนโลยีรถยนต์ด้านความปลอดภัย อย่าง Volvo ได้คิดค้นและพัฒนาระบบป้องกันการชนขณะขับเคลื่อนด้วยความเร็วต่ำเป็นอุปกรณ์เสริมที่มีใช้ในรถยนต์ โดยระบบป้องกันการชนขณะขับความเร็วต่ำ(City Safety) นี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ มีการทำงานคือเมื่อรถยนต์วิ่งอยู่ในความเร็วเฉลี่ย 50 กม. ต่อชั่วโมง ระบบ Sensor ที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณส่วนหน้าของรถยนต์จะทำหน้าที่สแกนในระยะห่าง 10 เมตร และตรวจจับการเคลื่อนที่ของรถยนต์ที่อยู่ด้านหน้าว่าหยุดหรือเคลื่อนที่ ถ้าระบบจับสัญญาณได้ว่ามีระยะห่างที่อาจทำให้เกิดอันตราย ระบบจะชาร์จไฟเข้าไปยังระบบเบรคเพื่อรอให้ผู้ขับเหยียบเบรค แต่ถ้าผู้ขับไม่ทำการเหยียบเบรค ระบบก็จะทำการเบรคอัตโนมัติ

 

และในกล่องควบคุมระบบ มีตัวเรดาร์มีหน้าที่ตรวจจับภาพมุมกว้าง 60 องศาทางด้านหน้ารถว่า มีวัตถุหรือสิ่งของอยู่ในรัศมีหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีกล้องที่จะช่วยยืนยันว่าเป็นโครงสร้างของตัวมนุษย์ ซึ่งกล้องตัวนี้มีความละเอียดสูงมากทำให้สามารถตรวจจับรูปแบบการเคลื่อนไหวของคนเดินถนนนั้นได้ด้วย และจะทำงานเมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่า 35 กม./ชม. และทำการเบรคอัตโนมัติเช่นกัน

 

เมื่อต้องขับรถออกนอกเมืองและต้องใช้ความเร็ว จะมีระบบตรวจจับผู้ขี่รถจักรยานพร้อมฟังก์ชั่นหยุดรถแบบเต็มแรงเบรค ที่ชื่อ ว่า Cyclist Detection with Full Auto Brake เป็นตัวช่วยให้มีความปลอดภัยเช่นกัน ระบบจะเตือนให้ผู้ขับทราบว่าว่ามีวัตถุหรือคนอยู่ข้างหน้าในระยะ 150 เมตร โดยมีสัญญาณไฟกระพริบ และสัญญาณเสียง มีระบบช่วยลดความเร็ว แต่ถ้าผู้ขับไม่ทำการเบรค ระบบก็จะทำการเบรกอัตโนมัติและเปิดสัญญาณไฟกระพริบฉุกเฉิน เพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันอื่นทราบ

 

โดยทาง Volvo เป็นเจ้าแรกที่พัฒนาระบบนี้ขึ้น และปัจจุบันมีสองเจ้าใหญ่คือ Volvo และ Ford ที่ได้ผลิตและออกจำหน่ายรถยนต์ที่มีระบบความปลอดภัยนี้ออกมาให้ท้องตลาดแล้ว

 

Credits 

สำหรับคนไทย อาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อ อีลอน มัสค์ (Elon Musk)นัก แต่ถ้าจะบอกว่า อีลอน มัสค์ เทียบได้กับ สตีฟ จ็อบส์ หลายๆ คนคงจะพอนึกภาพออก แต่ที่สำคัญคือ ในขณะที่ สตีฟ จ็อบส์ เป็นอัจฉริยะในด้านการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตลาดขนาดใหญ่มากคือ Apple แต่ อีลอน มัสก์ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างคือ ผลิตยานอวกาศ โดยบริษัท Space Exploration Technologies หรือ SpaceX ผลิตรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันเป็นพลังงานขับเคลื่อนโดยบริษัท Tesla Motorsและผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยบริษัท SolarCity

 

ในการให้สัมภาษณ์ ในวันที่ อีลอน มัสค์ ออกรายการ TED เมือปี 2013 เขาได้แสดงทัศนคติที่ยอดเยี่ยม และวิสัยทัศน์ที่ชาญฉลาด มองเห็นว่าอะไรที่กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในโลกอนาคต

 

“ย้อนไปเมื่อผมอยู่ในมหาวิทยาลัยผมคิดถึงว่า อะไรคือปัญหาที่น่าจะ กระทบต่ออนาคตของโลก หรืออนาคตของมนุษยชาติมากที่สุด ผมคิดว่ามันสำคัญอย่างมาก ที่เรามีการคมนาคมที่ยั่งยืน และการผลิตพลังงานที่ยั่งยืน เหล่าบรรดาปัญหาพลังงานที่ยั่งยืนทั้งหมดนั้น เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่เราต้องทำการแก้ไขในศตวรรษนี้ อย่างอิสระจากการคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม อันที่จริง สมมุติว่า การผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเรากำลังจะขาดไฮโดรคาร์บอน พวกเราต้องการหาแนวทางการจัดการที่ยั่งยืน”

 

อีลอน มัสค์ ทำจริงอย่างที่เขาพูด เขาได้ก่อตั้ง Tesla Motor เป็นบริษัทที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทนี้ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกในอนาคต ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดขององค์กร คือรถยนต์รุ่น Model S รถยนต์ที่ไม่ได้ใช้น้ำมัน เป็ยมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

นวัตกรรมของ Tesla เป็นที่กล่าวขวัญในวงกว้าง เป็นสินค้าขายดี และดีขนาด Toyota ขอมาลงทุนในบริษัทเป็นมูลค่า 50 ล้านเหรียญ รถรุ่น Model S ได้รับรางวัลมากมายจากองค์กรต่างๆ และมีเป้าหมายว่าจะมียอดขาย 40,000 คันทั่วโลกในปี 2014 และ Model S คันหนึ่ง ฉนนราคาเกือบ 3 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ อีลอน มัสค์ ยังยินดีหากบริษัทไหนจะเอาสิทธิบัตรของ Tesla ไปใช้ เพื่อเป็นการพัฒนารถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เติบโตต่อไป

Credits

ตามที่เราทราบกันดีว่าแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากแหล่งธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด ซึ่งสำหรับประเทศไทยก็เป็นถือเป็นประเทศที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์นี้มาให้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเหมาะสม มีแสงแดดตลอดทั้งวันและตลอดทั้งปี

 

ปัจจุบันประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ได้คิดค้นและผลิตรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกมา สามารถใช้งานจริงได้ เช่น Stella รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar Team Eindhoven จากมหาวิทยาลัย Eindhoven เป็นรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ 4 ที่นั่ง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ World Solar Challenge 2014 จัดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย

 

Stella รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์คันนี้ถูกออกแบบให้ลู่ลม สามารถวิ่งได้ 120 กม. ต่อชั่วโมง และเมื่อชาร์จแบตเต็มที่ จะสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 506 กม. Stella ได้พิชิตระยะทางยาวถึง 3,000 กม. มาแล้วในการแข่งขัน World Solar Challenge 2014 ที่กล่าวมา ถึงขณะนี้ทางทีมผู้สร้าง Stella ยังต้องพัฒนารูปแบบเพิ่มเติมบางส่วน เพื่อให้ Stella สามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ และออกสู่ท้องถนนได้อย่างสวยงาม

 

สำหรับประเทศไทยนั้นการวิจัยและพัฒนารถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ ยังเป็นไปในรูปแบบของหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งยังขาดเงินทุนสนับสนุน และทีมงานที่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่โชคดีที่ประเทศไทยนั้นมีบุคคลกรที่มีความรู้ทางด้านเทคโลโนยีเก่งๆ หลายท่าน หากแม้เป็นไปได้ที่มีบริษัทเอกชนเข้ายื่นมือเข้ามาสนับสนุน เราก็คงจะเห็นรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ฝีมือคนไทยวิ่งในท้องถนนเมืองไทยในไม่ช้า

Credits 

เมื่อต้นปี 2558 DHL บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของโลกได้เปิดเผยรายงานผลการสำรวจ DHL GLOBAL CONNECTEDNESS INDEX 2014 ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งมี 5 ประเทศในเอเชียที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี และไทย มีการฟื้นฟูการเชื่อมโยงในปีที่ผ่านมาได้อย่างดีเยี่ยม

 

ซึ่งรายงานนี้เป็นการเก็บข้อมูลจาก 140 ประเทศทั่วโลกว่ามีความเชื่อมโยงอย่างไร โดยมีมิติในการวัด 2 ด้าน คือ "ความลึก" ได้แก่ความสำคัญในการค้าขายสินค้าและบริการ เงินทุนเคลื่อนย้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ความเชื่อมโยงทางด้านข้อมูล การย้ายถิ่นของประชากร และ "ความกว้าง" ที่พิจารณาทั้ง 4 ด้าน เช่นเดียวกับความลึกแต่ดูจากสัดส่วนจำนวนประเทศที่มีการติดต่อด้วยในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดลำดับในอันดับที่สาม นับเป็นอันดับที่สูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชีย และเป็นประเทศในเอเชียประเทศเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่มสิบอันดับต้น เพราะแสดงถึง "ความลึก" ของการบูรณาการระหว่างประเทศ ที่สัมพันธ์กับขนาดของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยรวม สำหรับประเทศที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ทั้ง 50 ประเทศ เช่น ฮ่องกงอันดับที่ 11 เกาหลี 13 ไต้หวัน 18ไทย 19 มาเลเซีย 21 นิวซีแลนด์ 31 ออสเตรเลีย 32 เวียดนาม 33 ญี่ปุ่น 40 และกัมพูชา 48 ในขณะที่ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 84 อินเดีย 71 อินโดนีเซีย 111 ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลียังสามารถติดอยู่ในกลุ่มอันดับต้นสิบประเทศ เมื่อวัดจาก "ความกว้าง" โดยคำนวณเช่นเดียวกับความลึกแต่ดูจากสัดส่วนจำนวนประเทศที่มีการติดต่อด้วยในภูมิภาคเดียวกัน ศาสตราจารย์ปานกาจ เคมาวัด ผู้เป็นนักเขียนร่วมในผลการสำรวจครั้งนี้ ได้อธิบายไว้ว่า "จากข้อมูลยังชี้ชัดได้ว่ามีประเทศใหม่ ๆ เริ่มติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งผิดกับช่วงก่อนปีพ.ศ.2553 ประเทศที่พัฒนาแล้วจะติอต่ดค้าขายกันเอง "หลายบริษัทจากประเทศที่เจริญแล้วควรให้ความสำคัญในการลงทุนในตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่เพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดว่าวงการธุรกิจได้เปลี่ยนแนวทางไปแล้วจากทศวรรษที่ผ่านมา” เคลวิน เหลียง ประธานกรรมการบริหารดีเอชแอล โกลบอล เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "รายงานของจีซีไอเมื่อปีพ.ศ.2557 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเอเชียสามารถเติบโตขึ้นมาได้จากการธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก เราจึงต้องการทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อการค้าทั้งในแถบภูมิภาคและระดับโลก โดยเห็นได้จากการที่เราขยายเครือข่ายต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างจีนและยุโรปขึ้น ในหลายประเทศในเอเชีย เริ่มจากในโตเกียว นาโกย่า โอซาก้า และฮากาตะ ในประเทศญี่ปุ่น" ข้อมูลอ้างอิง http://www.dhl.com/ http://www.logisticsdigest.com/

จุดแข็งของประเทศไทยในการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2558

และแล้วปี 2558 ปีแห่งการเปิดเขตเสรีอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบก็จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หลายๆ ประเทศกำลังเตรียมพร้อมการแข่งขัน โดยมีสินค้าบางประเภทเริ่มทยอยลดภาษีกัน และจะครบสมบูรณ์เต็มรูปแบบในปลายปี 2558 นี้ และเมื่อนั้นแต่ละประเทศคงงัดกลยุทธ์ต่างๆ ออกมาเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า และสร้างเงื่อนไขบางอย่าง เพื่อปกป้องสินค้าของประเทศตัวเอง เนื่องจากเกรงว่าจะไม่สามารถสู้ประเทศอื่นได้ ถ้ามองกันในเรื่องของศักยภาพ ความจริงแล้วประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเด่นในภูมิประเทศอาเซียนนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายประเภท เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกหลายล้านเหรียญสหรัฐ จุดแข็งของประเทศไทยที่มีมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน คือเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า การส่งออก และประเทศไทยเองได้ประกาศตัวว่าจะเป็น ศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ของกลุ่มอาเซียน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์จากต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทยจำนวนมาก รวมถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของระบบขนส่งเอกชน ยิ่งยืนยันได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ได้ แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นที่น่ากังวลใจว่า ระบบขนส่งสาธารณะของไทยจะสามารถรองรับได้ทั้งหมดหรือไม่ ถึงแม้ว่าขณะนี้ภาครัฐมีแผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วนก็ตาม แต่ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ ความหวังที่แผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้ไทยมีบทบาทสูงในด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นไปได้สูง โดยเฉพาะกับประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งสามารถส่งต่อไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนาม และมณฑลตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านด่านชายแดนสำคัญที่กระจายตัวอยู่ตามขอบชายแดนในภาคต่างๆของไทย และประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางเพื่อกระจายสินค้าไปยังสองประเทศใหญ่ที่มีจำนวนประชาการเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกคือ จีนและอินเดียอีกด้วย

Credit : มหานครอาเซียน